Posted on

เดินท่อลม ด้วยท่อ PAP ได้มั้ย

เดินท่อลม ได้แน่นอนครับ ในที่นี้ก็หมายถึง ลมอัดหรืออากาศอัด ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Compressed Air โดยทั่วไปความดันจะอยู่ที่ประมาณ 7 บาร์ (100 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว, psi) แต่ก็มีปั๊มลมบางรุ่นที่ทำความดันได้ถึง 12 บาร์ (174 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว, psi) ซึ่งท่อ PAP ก็รับแรงดันนี้ได้สบายครับ

ระบบ เดินท่อลม ในศูนย์บริการรถยนต์
ระบบท่อลมในศูนย์บริการรถยนต์

อันที่จริงท่อพีเอพี ทั้ง 3 แบบของ MF Pipe (ท่อน้ำร้อนสีส้ม ท่อน้ำเย็นและอากาศอัดสีขาว และท่อแก๊สสีเหลือง) สามารถใช้เดินท่อลมได้หมด เพราะท่อทั้ง 3 แบบสามารถรับแรงดันได้เท่ากัน แต่แนะนำให้ใช้ท่อสีขาว เพราะราคาถูกที่สุด เนื่องจากไม่จำเป็นต้องอาศัยคุณสมบัติการทนอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสของท่อสีส้ม หรือคุณสมบัติที่ออกแบบเฉพาะสำหรับแก๊สหุงต้มของท่อสีเหลือง

คลิ๊กดูบทความ ท่อ PAP คืออะไร

เดินท่อลมอัด อากาศอัด
ท่อ PAP สีขาว สำหรับ เดินท่อลม

โดยทั่วไปท่อที่นิยมใช้ในการเดินท่อลมคือ ท่อเหล็กชุบสังกะสี หรือที่เรียกว่าท่อกัลวาไนซ์ และท่อทองแดง จุดเด่นของท่อ PAP เมื่อเทียบกับท่อเหล็กหรือท่อทองแดง มีดังนี้

1. ติดตั้งง่าย ไม่ต้องต๊าบเกลียว หรือเชื่อมด้วยแก๊ส ทำงานได้เร็ว ท่อมาเป็นม้วน เพียงแค่คลี่ออกจากม้วน ดัดโค้งงอได้ด้วยมือเปล่า ไม่ดีดตัวกลับ ลากเลื้อยหลบสิ่งกีดขวางได้ สามารถเดินท่อไกลเป็นร้อย ๆ เมตรโดยไม่ต้องมีข้อต่อได้เลยทีเดียว จะเดินท่อลมเองแบบ DIY หรือให้ช่างทั่วไปที่อยู่ในโรงงานติดตั้งก็ทำได้

2. ข้อต่อสำหรับท่อพีเอพี ของ MF Pipe เป็นพลาสติกไนล่อน ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ทำเอ็นตกปลาและไหมขัดฟัน การติดตั้งใช้ขันอัดเกลียวด้วยประแจธรรมดาทั่วไป การที่ผิวในของท่อและข้อต่อเป็นพลาสติกด้วยกัน จึงกันการรั่วซึมของลมได้ดีกว่าโลหะ เนื่องจากจุดสัมผัสมีความยืดหยุ่นมากกว่าโลหะ ที่ภาษาช่างเรียกว่ามันให้ตัวได้นั่นเอง เมื่อถูกขันอัดจะแนบสนิท เสมือนหนึ่งมีซีลกันรั่วในตัว (สังเกตวัสดุที่ใช้ทำซีลมักจะเป็นยางหรือพลาสติก เนื่องจากมันยืดหยุ่น หรือให้ตัวได้มากกว่านั่นเอง)

ข้อต่อพลาสติก MF Pipe จึงเหมาะมากสำหรับงานเดินท่อลม สามารถช่วยลดการสูญเสียพลังงาน อันเนื่องมาจากลมรั่วตามจุดต่าง ๆ ในโรงงานได้

ข้อต่อพลาสติกไนล่อนสำหรับ เดินท่อลม
ข้อต่อพลาสติก MF Pipe สำหรับ เดินท่อลม ด้วยท่อ PAP

3. ต้นทุนวัสดุ อุปกรณ์และการติดตั้งต่ำกว่า เนื่องจากราคาท่อและข้อต่อไม่แพง ค่าแรงสำหรับการติดตั้งต่ำ ติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว สามารถส่งมอบงานในเวลาอันสั้น

4. การเดินท่อลม ด้วยท่อพีเอพี แทบจะไม่ต้องใช้ข้อต่อตรงและข้องอเลย เนื่องจากท่อ PAP มาเป็นม้วน ตัดใช้ตามความยาวที่ต้องการ สามารถดัดโค้งแล้วอยู่ตัว (ไม่อ่อนตัวเหมือนพวกสายยางหรือสายอ่อน) ผิวท่อชั้นในที่สัมผัสอากาศอัดเรียบลื่น ทำให้ลมไหลได้ดี ความดันตกคร่อมน้อย

5. น้ำหนักเบา ทั้งตัวท่อที่เป็นวัสดุผสมระหว่างพลาสติกกับอลูมิเนียม และข้อต่อที่เป็นพลาสติก ปลอดภัย ขนย้ายง่าย ขณะติดตั้งก็ไม่ต้องใช้คนมาก สามารถเดินท่อไล่ไปเรื่อย ๆ ตามหน้างานจริงได้เลย

6. ท่อไม่เป็นสนิม ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี อายุใช้งานยาวนานหลายสิบปี ในระบบท่อลม จะมีการกลั่นตัวของน้ำ ดังนั้น ถ้าเป็นท่อเหล็ก มักจะพบปัญหาของการเกิดสนิม พอเป็นท่อ PAP ก็จะไม่มีปัญหานี้ ลมจะสะอาด ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ลมต่าง ๆ เช่น กระบอกลม เป็นต้น

7. สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไข ซ่อมแซม หรือต่อเติมในอนาคตได้ง่าย ข้อต่อสำหรับท่อพีเอพีของ MF Pipe สามารถถอดออกมา แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หากมีการต่อท่อเพิ่ม ก็เพียงแค่ ตัดท่อ หรือคลายข้อต่อออกมา แล้วต่อท่อเพิ่มเติมได้โดยง่าย

เดินท่อลมอัด อากาศอัด ด้วยท่อ PAP
ตัวอย่างการ เดินท่อลม ด้วยท่อ PAP

อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของท่อ PAP สำหรับการเดินท่อลม เมื่อเทียบกับท่อเหล็กหรือท่อทองแดง คือ
กรณีถ้าต้องเดินท่อลมขนาดใหญ่ด้วยท่อพีเอพี ข้อต่อจะมีขนาดใหญ่มาก และ ณ ปัจจุบัน ทาง MF Pipe ยังไม่ได้ผลิตข้อต่อพลาสติกสำหรับท่อขนาดใหญ่ออกมา จึงยังจำเป็นต้องใช้ข้อต่อทองเหลืองอยู่ ราคาจึงสูง และน้ำหนักมาก ยกตัวอย่างเช่น ข้อต่อสามทางสำหรับท่อพีเอพี ขนาด 1 นิ้วครึ่ง จะมีน้ำหนักเป็นกิโลกรัม และราคาหลายร้อยบาทต่อตัวเลยทีเดียว

ข้อต่อท่อ PAP ทำจากทองเหลือง
ข้อต่อ PAP ชนิดทองเหลือง

ท่อขนาดใหญ่สุดของท่อพีเอพี สำหรับการเดินท่อลมที่เหมาะสม จึงมีขนาดไม่เกิน 2632 หรือเทียบเท่า 1 นิ้ว
ดังนั้น การใช้ท่อพีเอพี เดินท่อลม จึงเหมาะสำหรับระบบอากาศอัดที่ไม่ใหญ่มาก ซึ่งสามารถใช้ท่อพีเอพี เดินท่อหลัก (ท่อเมน) ท่อแขนง และท่อย่อยได้ทั้งหมด หรือถ้าเป็นระบบขนาดใหญ่ ก็สามารถใช้ท่อเหล็กหรือท่อทองแดงเดินเป็นท่อหลัก แล้วใช้ท่อพีเอพี เดินท่อแขนงและท่อย่อยก็ได้

ท่อ PAP สามารถใช้ร่วมกับท่อชนิดอื่นได้ ด้วยการต่อด้วยข้อต่อที่เป็นเกลียว ซึ่งเป็นมาตรฐานเกลียวนิ้ว หรือเกลียวประปา ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในบ้านเรา

ท่อลม ท่อพีเอพี

การเดินท่อลมในโรงงาน

ท่อลม ใช้ท่ออะไรดี

การติดตั้งท่อลมในโรงงาน

ตัวอย่าง ท่อลมในคาร์แคร์

ตัวอย่าง การเดินท่อลมอัด compressed air

ตัวอย่าง ท่อลมในอู่ซ่อมรถยนต์