รายละเอียด
ท่อลม (อากาศอัด) ท่อน้ำ
ท่อ PAP MF สีขาว
ความดันใช้งาน 12 บาร์
ทนอุณหภูมิ 60 °C
ขนาด 1216 (4 หุน)
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 12 มม.
เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 16 มม.
ท่อลม PAP ขนาด 1216 (4 หุน) เป็นขนาดเล็กที่สุด เหมาะสำหรับการเดินท่อลม (Compressed Air) ตามโรงงานขนาดเล็ก คาร์แคร์ อู่ซ่อมรถ ปั๊มน้ำมัน ที่มีจุดใช้งานไม่มากนัก เช่น 1-5 จุด และอุปกรณ์ที่ใช้ลมแต่ละตัว ต้องการลมไม่มากนัก เช่น ปืนเป่าลม กระบอกลม กาพ่นสี เป็นต้น
ท่อลม PAP ขนาด 1216 (4 หุน) สามารถใช้เป็นท่อย่อย ต่อออกจากท่อเมนหลัก ขนาด 1620 (5 หุน) ได้ โดยใช้ข้อต่อ สามทางลด T1620x1216x1620 (5*4*5 หุน)
ตัวอย่างการเดินท่อจาก ปั๊มลม
ตัวอย่างการเดินท่อลมใน คาร์แคร์
ข้อต่อ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มักจะใช้สำหรับเดิน ท่อลม มีดังนี้
ต่อตรงเกลียวนอก (S1216x1/2″M) ใช้ต่อท่อลม PAP ออกจากปั๊มลม โดยใช้เกลียวนอก (ใช้เทปพันเกลียวพันก่อน) ขันเข้าไปที่วาล์ว หรือทางออก ของปั๊มลมก่อน แล้วจึงใช้ท่อต่อกับข้อต่อ ติดตั้งตามขั้นตอนให้แล้วเสร็จ
สามทาง (T1216x1216x1216) ใช้สำหรับเดินท่อย่อย ออกจากท่อเมนหลัก โดยใช้ท่อลม PAP ขนาด 1216 (4 หุน) ทั้งหมด
ข้องอเกลียวใน (L1216x1/2″F) ใช้สำหรับเดินท่อลม ที่จุดใช้งาน เพื่อติดตั้ง คอปเปอร์ อุปกรณ์กรองน้ำกรองลม หรืออุปกรณ์ลมอื่น ๆ โดยที่ ปลายคอปเปอร์ หรืออุปกรณ์ลมนั้น ๆ จะตั้งฉากกับแนวท่อ (หันเข้าหาตัวเรา กรณีเดินท่อลม แนบกับผนังห้อง) ข้อดีคือ การเสียบสายลมจะง่าย
รูปตัวอย่าง คอปเปอร์ แบบเกลียวนอก 4 หุน สามารถขันเข้าไปที่เกลียวในของข้อต่อได้พอดี
หรือ อีกวิธีหนึ่ง ในการติดตั้งข้อต่อ ณ จุดใช้งาน คือ ใช้ต่อตรงเกลียวใน (S1216x1/2″F) กรณีนี้ ปลายคอปเปอร์ หรืออุปกรณ์ลมอื่น ๆ จะอยู่ในทิศทางขนานกับท่อ (ชี้ลงล่าง กรณีเดินท่อแนบผนังห้อง มาจากด้านบน) ข้อดีของแบบนี้คือ คอปเปอร์ สายลม หรืออุปกรณ์ลม ที่มาติดเข้ากับจุดนี้ จะไม่เกะกะ
สามทางเกลียวใน (T1216x1/2″Fx1216) ใช้เพิ่มจุดติดตั้งคอปเปอร์ (หรืออุปกรณ์ลมอื่น ๆ) ณ จุดใช้งาน แบบนี้ จะสะดวกและง่ายต่อการติดตั้งมากกว่า การใช้ข้อต่อคอปเปอร์ ที่มีทางเข้า 1 จุด ทางออกหลายจุด (เช่น สองทางตรง สามทางตรง สองทางกลม สามทางกลม เป็นต้น)
ข้องอ (L1216x1216) ข้อดีที่สำคัญประการหนึ่งของ ท่อลม PAP คือ สามารถดัดโค้งงอได้ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ข้องอแม้แต่ตัวเดียว เพื่อให้การเดินท่อลม ทำได้เร็ว ประหยัดค่าข้อต่อ และที่สำคัญที่สุดคือ แรงดันลมไม่ตก (ข้องอ เป็นต้นเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดแรงดันตกในเส้นท่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีการใช้ข้องอเป็นจำนวนมาก)
อย่างไรก็ตาม อาจจะมีบางจุดที่จำเป็นต้องใช้ข้องอ ยกตัวอย่างเช่น กรณีเดินท่อ ทะลุกำแพง อาจต้องมีฝั่งใดฝั่งหนึ่ง จำเป็นต้องใส่ข้องอ
โดยที่การดัดโค้งงอท่อ สามารถทำได้ด้วยมือเปล่า โดยการดัด ต้องดัดด้วยแรงที่สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการออกแรงดัดจุดใดจุดหนึ่ง มิฉะนั้น ท่ออาจจะบี้ หรือพับได้
ถ้าต้องการดัดโค้งมาก ๆ (รัศมีความโค้งแคบ ๆ) ควรใช้สปริงดัดท่อช่วย โดยที่ สปริงดัดท่อ มีอยู่ 2 แบบ
1. แบบสอดในท่อ โดยการสอดสปริงเข้าไปในท่อ ไปยังจุดที่ต้องการดัดโค้ง แล้วจึงทำการดัดโค้งท่อบริเวณนั้น สปริงที่อยู่ในท่อ จะช่วยกระจายแรงดัดให้สม่ำเสมอ ทำให้ท่อยังคงรูป หน้าตัดเป็นวงกลมสวยงาม ไม่บี้หรือพับไปตามแรงดัด เมื่อดัดท่อเสร็จ ก็ให้นำสปริงออกจากท่อ
สปริงดัดท่อแบบสอดในท่อนี้ เหมาะสำหรับดัดโค้งท่อที่บริเณใกล้ ๆ ปลายท่อ หรือถัดเข้าไปจากปลายท่อไม่ไกลมากนัก (นำสปริงผูกเชือกไว้ วัดระยะเชือกให้เท่ากับจุดที่จะดัดโค้ง แล้วสอดสปริงเข้าไปในท่อ ทำการดัดท่อ)
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดคือ กรณีต้องการดัดโค้งท่อ ห่างออกจากปลายท่อไปมาก สปริงสอดในแบบนี้ จะไม่สะดวก หรือทำไม่ได้เลย จึงจำเป็นต้องใช้สปริงแบบสวมนอกท่อแทน
2. สปริงแบบสวมนอก โดยการสอดท่อเข้าไปในสปริง แล้วรูดสปริงไปตามแนวท่อ จะดัดท่อตรงบริเวณไหน ก็หยุดแล้วดัด ดัดเสร็จก็รูดสปริงต่อ ไปยังจุดใหม่ที่ต้องการดัด จนสุดปลายท่อ ก็ให้นำสปริงออกจากท่อ สปริงดัดท่อ จะช่วยกระจายแรงดัดให้สม่ำเสมอ ป้องกันไม่ให้ท่อพับ หรือบี้ จากการออกแรงดัดจุดใดจุดหนึ่งมากเกินไป
กรรไกรตัดท่อ ใช้สำหรับตัด ท่อลม PAP เพื่อให้รอยตัดตั้งฉาก และเรียบ มั่นใจได้ว่า เมื่อติดตั้งเสร็จ ลมไม่รั่วซึม
ประแจขันข้อต่อ ใช้สำหรับขันข้อต่อ PAP ชนิดพลาสติก ประแจแบบนี้ ถูกออกแบบมาใช้สำหรับขันข้อต่อ PAP โดยเฉพาะ ขณะออกแรงขัน จะกระจายแรงกดบนฝาเกลียวของข้อต่อ เป็น 6 จุด ทำให้งานติดตั้งมีคุณภาพ สามารถออกแรงขันได้อย่างเต็มที่ โดยที่ฝาเกลียวไม่แตก
หากใช้ประแจชนิดอื่น เช่น ประแจปากตาย ประแจเลื่อน ประแจคอม้า ถ้าปรับตั้งระยะห่างของปากประแจไม่พอดี (หลวมเกินไป) จะเกิดแรงจิกของปากประแจ บนฝาเกลียวของข้อต่อ ทำให้ฝาเกลียว อาจเข้าไม่สุด หรือถ้าเกิดแรงจิกเป็นจุด (Point Load) อาจทำให้ฝาเกลียวแตกได้
แคล้มป์รัดท่อโลหะ ทำจากอลูมิเนียมอบขาว อย่างหนา แข็งแรง และไม่เป็นสนิม เหมาะสำหรับงานเดินท่อลมอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ การยึดท่อบริเวณใกล้ ๆ ข้อต่อทุกจุด การยึดท่อในแนวดิ่ง หรือการเดินท่อลมด้านนอกอาคาร (Outdoor)
แคล้มปก้ามปูพลาสติก ใช้ยึดท่อ ช่วงกลาง ๆ ท่อ เพื่อลดต้นทุนค่าแคล้มป์ แต่ไม่เหมาะสำหรับ การเดินท่อนอกอาคาร เพราะหากโดนแดดนาน ๆ แคล้มป์ก้ามปู พลาสติกแบบนี้ อาจกรอบแตกได้