Posted on

ท่อน้ำร้อน มีกี่ชนิด

ท่อน้ำร้อน โดยทั่วไปจะต้องทนอุณหภูมิขณะใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 95 องศา C น้ำที่ต้มจนเดือดมีอุณหภูมิประมาณ 100 องศา C เมื่อมีการส่งไปตามท่อ อุณหภูมิของน้ำร้อนจะลดลง ขึ้นกับระยะทางและความร้อนสูญเสียระหว่างทาง อุณหภูมิที่ต้องการขึ้นกับการใช้งาน เช่น ถ้าใช้อาบมักออกแบบให้มีอุณหภูมิ 60 องศา C เพื่อผสมกับน้ำเย็นปรับตามความต้องการของแต่ละคน ถ้าใช้ซักผ้ามักจะออกแบบเป็น 80 องศา C ท่อที่เหมาะสำหรับขนส่งน้ำร้อนมีอยู่มากมายหลายชนิด ในที่นี้จะขอเน้นเฉพาะ ท่อน้ำร้อน ที่มีการใช้งานบ่อยในประเทศไทย ดังนี้ Continue reading ท่อน้ำร้อน มีกี่ชนิด

Posted on

ท่อ PAP คือ อะไร

PAP pipe structureภาพแสดงโครงสร้างของท่อ PAP MF

ท่อมัลติเลเยอร์ PAP (Plastic-Aluminium-Plastic) MF คือ ท่อที่ทำจากวัสดุผสมพลาสติกและอลูมิเนียม เป็นพัฒนาการครั้งสำคัญในวงการวิศวกรรมเกี่ยวกับระบบท่อและวัสดุที่ใช้ทำท่อ ท่อ PAP ได้รวมเอาข้อดีของท่อโลหะและท่อพลาสติกเข้าไว้ด้วยกัน มั่นใจได้ว่าสามารถใช้แทนท่อกัลวาไนซ์ ท่อทองแดง ท่อโลหะ ท่อพีวีซี ท่อพีอี ท่อพีพีอาร์ได้ วิธีการต่อท่อนั้นสะดวกมาก เพียงขันเกลียวของตัวข้อต่อด้วยอุปกรณ์ช่างทั่วไป ใช้ได้ทั้งท่อน้ำร้อน ท่อน้ำเย็น และท่อแก๊ส Continue reading ท่อ PAP คือ อะไร

Posted on

ท่อ PAP MF

ท่อ PAP MF ทนอุณหภูมิ ความดัน น้ำหนักเบา ทนสารเคมี น้ำมัน น้ำร้อน และไม่เป็นสนิม ชั้นในของท่อ PAP เรียบและลื่น ไม่เป็นสนิม อัตราการไหลสูงกว่าท่อโลหะถึง 30% ดัดโค้งงอได้ง่าย จึงสามารถเดินผ่านคาน ปล่อง ฝังในผนัง คอนกรีต ท่อบรรจุมาเป็นม้วน ทำให้ประหยัดข้อต่อตรงและข้องอ เดินท่อได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถทำเองที่บ้านแบบ DIY ได้ สามารถตรวจสอบแนวท่อด้วยเครื่องตรวจจับโลหะได้ ใช้สำหรับเดินท่อน้ำเย็น ท่อน้ำร้อน อากาศอัด แก๊ส น้ำมัน สารเคมี ตามอาคาร บ้านเรือน คอนโดมิเนียม ตึกสำนักงาน โรงแรม โรงพยาบาล และในโรงงานอุตสาหกรรม
Continue reading ท่อ PAP MF

Posted on

ข้อต่อพลาสติก MF

ข้อต่อ PAP พลาสติก

ข้อต่อท่อ พลาสติก MF ได้รับการจดสิทธิบัตร ออกแบบมาให้ใช้กับท่อ PAP โดยเฉพาะ ทั้งท่อน้ำร้อน น้ำเย็น และแก๊ส เพื่อช่วยลดต้นทุนการติดตั้ง ทำจากวัสดุพลาสติกวิศวกรรมอัลลอยด์ ที่ประกอบไปด้วย โพลิเอไมด์ โพลีคาร์บอเนต ไนลอน และโพลีออกซีเมธิลีน (POM-Polyoxymethylene) เพื่อใช้แทนข้อต่อทองเหลืองที่มีราคาแพง

สามทางถอดน็อต (small file)

Read More